เมนู

อนึ่ง ช้างนั้นชื่อว่ามีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว เพราะมีร่างกายตั้งอยู่ได้
เป็นอย่างดีฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีขันธ์เกิดดีแล้ว เพราะ
ความเป็นผู้ใหญ่ด้วยศีลขันธ์อันเป็นอเสกขะ. อนึ่ง ช้างนั้นชื่อว่ามีตัวดัง
ดอกบัว เพราะมีร่างกายเช่นกับดอกบัว หรือเพราะเกิดในตระกูลช้าง
ปทุมฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ชื่อว่ามีธรรมดังดอกบัว เพราะมีธรรม
คือโพชฌงค์เช่นกับดอกบัว หรือเพราะเกิดในปทุม คือชาติของพระ-
อริยะ. อนึ่ง ช้างนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยิ่ง เพราะมีเรี่ยวแรงและกำลังเร็ว-
เป็นต้นฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยิ่ง เพราะมีความประพฤติ
ชอบทางกายบริสุทธิ์เป็นต้น หรือเพราะมีศีลสมาธิและปัญญาหลักแหลม
เป็นต้น. เราเมื่อคิคอยู่อย่างนี้จึงเริ่มวิปัสสนา แล้วบรรลุปัจเจกสัมโพธิ-
ญาณ ด้วยประการฉะนี้.
จบคาถาที่ 9

คาถาที่ 10


20) อฏฺฐาน ตํ สงฺคณิการตสฺส
ยํ ผุสฺสเย สามยิกํ วิมุตฺตึ
อาทิจฺจพนฺธุสฺส วโจ นิสมฺม
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าได้กล่าว 3 บาทแห่งคาถาว่า)
บุคคลพึงใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้า ผู้เป็น
เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ว่า การที่บุคคลผู้ยินดีแล้วด้วยการ